การอุดฟัน

การอุดฟัน (Dental Fillings)

การอุดฟัน คือวิธีการดูแลรักษาฟันที่สึก ร่อน หรือเป็นรูจากฟันผุ หรือสาเหตุอื่นๆ เพื่อให้ฟันที่รักษาเรียบร้อยแล้วกลับมาใช้งานได้ปกติ และมีรูปร่างเหมือนเดิม ซึ่งวิธีการคร่าวๆในการอุดฟัน ทันตแพทย์จะกรอเอาฟันที่โดยทำลาย หรือผุ ออก แล้วทำความสะอาดเป่าให้แห้ง จากนั้นจะนำวัสดุสำหรับอุดฟัน วัสดุที่ใช้นี้มีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ทอง อมัลกัม เรซิน เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัตริแตกต่างกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ว่าวัสดุแบบใดเหมาะสมกับสภาพฟันที่จะอุด โดยวัสดุอุดฟันนั้นจะทำหน้าที่มาอุดปิดช่อง หรือรูที่เกิดขึ้น เพื่อยับยังไม่ให้แบคทีเรียเข้าไปกินเนื้อฟัน และป้องกันฟันผุซ้ำอีก เจ้าแบคทีเรียที่ว่านี้ จะอยู่ในช่องปากของเราอยู่แล้ว ซึ่งทุกครั้งที่เราทานอาหารเข้าไป แล้วไม่ทำความสะอาดช่องปาก ปล่อยให้ช่องปากมีเศษอาหารตกค้าง แบคทีเรียก็จะได้รับสารอาหารด้วย ทำให้แบคทีเรยเจริญเติบโต จับตัวกันเป็นพลัก จากนั้นก็จะกัดกินเนื้อฟัน ทำให้ฟันผุได้

 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าฟันเราผุ ต้องได้รับการรักษาโดยวิธีการอุดฟัน เพราะบางกรณีที่ฟันผุไม่ลึกมากก็จะไม่มีอาการปวด ทำให้คิดว่าช่องปากไม่ได้มีปัญหาใดๆ หากปล่อยไว้นาน อาจจะอุดฟันไม่ได้แล้ว หรือต้องรักษาด้วยการถอนฟันก็เป็นได้ ดังนั้น เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี เราควรตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ทุกปี

วัสดุที่นิยมใช้ในการอุดฟันมีอะไรบ้าง

1. อุดฟันด้วยทอง (Gold fillings) ทองที่นำมาใช้ในงานทัตนกรรมนี้ ต้องเป็นทองที่ทำขึ้นมาเฉพาะบุคคล ไม่ทำให้ช่องปากระคายเคือง มีความทนสูง และมีประสิทธิภาพยาวนาน ในบางรายสามารถใช้งานได้ถึง20ปีเลยทีเดียว แต่ทองก็ยังเป็นวัสดุที่ราคาแพง และใช้วีธีการอุดที่ค่อนข้างหลายขึ้นตอน ทำให้ต้องมาพบทัตแพทย์บ่อยกว่าการอุดฟันแบบทั่วไป

2. อุดฟันด้วยอมัลกัม (Amalgam fillinngs) อมัลกัมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเงิน เป็นวัสดุราคาไม่สูง แถมยังทนทานใช้งานได้นาน แต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากอมัลกัมมีสีเข้ม สีค่อนข้างเห็นเด่นชัด ไม่กลืนไปกับสีฟัน ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ใช้วัสดุประเภทนี้อุดฟันกราม ฟันสำหรับเคี้ยวอาหารที่อยู่ด้านในช่องปากแทน

3. อุดฟันด้วยคอมโพสิท เรซิน (Composite resins fillings) วัสดุประเภทนี้คือพลาสติกที่ใช้ในงานทันตกรรมเฉพาะ มีสีที่เหมือนสีของฟัน ทำให้เวลามองดูสีจะกลืนเป็นสีเดียวกับฟัน ดูเป็นธรรมชาติ แต่ข้อเสียของวัสดุประเภทนี้คือเป็นคราบง่าย หากเราดื่มชา กาแฟเป็นประจำ ก็อาจทำให้สีของวัสดุเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดูไม่กลืนกับสีฟัน และวัสดุประเภทนี้ไม่ค่อยคงทน อายุใช้งานไม่ค่อยนาน ส่วนมากจะอยู่ได้ 3-10 ปี แล้วแต่กรณี และการดูแลรักษาหลังอุดฟัน

4. อุดฟันด้วยพอร์ซเลน (Porcelain fillings) วัสดุประเภทนี้จะมีสีเดียวกับฟัน สามารถใช้อุดฟันได้หลากหลายประเภท ทั้งพื้นที่เล็ก และพื้นที่ใหญ่ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติคล้ายกับทอง คือมีความทนสูง อายุการใช่งานนาน และต้องทำขึ้นมาเฉพาะรายบุคคล ซึ่งราคาก็สูงตามคุณสมบัติด้วยเช่นกัน

คำแนะนำหลังจากได้รับการรักษาโดยอารอุดฟัน มีดังนี้
1. หลังจากอุดฟันจะมีอาการเสียวฟันประมาณ2-3 สัปดาห์ ระหว่างนี้ควรเลี่ยงอาหารรสจัด และอาหารที่ร้อนหรือเย็นจัด
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เหนียวหรือแข็งหลังจากอุดฟันประมาณ 24 ชั่วโมง เพราะวัสดุอุดฟันอาจจะยังไม่เกาะผิวฟันดีนัก อาจจะทำให้วัสดุบริเวณที่อุดฟันหลุดได้
3. ควรมาพบแพทย์ให้ตรงตามนัดหมาย เพื่อเช็ควัสดุ และฟันที่ได้อุดไป
4. แปรงฟันให้สะอาด ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ และใช้น้ำยาบ้วนปากทำความสะอาดร่วมด้วย เพื่อไม่ให้เศษอาหารตกค้างในช่องปาก และเกิดแบคมีเรียสะสม


Visitors: 443,218